วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เลือดลอย

เลือดลอยสาเหตุที่บริจาคเลือดไม่ได้






เมื่อเจาะเลือดจากปลายนิ้ว หยดลงในน้ำยาสีฟ้า
(สารละลายจุนสีหรือCopper sulphate)แต่หยดเลือดของคุณไม่จม
และเมื่อได้ตรวจความเข้มข้นของโลหิต (Hemoglobin)
พบว่าความเข้มข้นไม่ถึง 12 g/dL ในผู้หญิง
หรือไม่ถึง 13 g/dL ในผู้ชายแสดงถึงภาวะโลหิตจาง
คุณ! อาจเป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก

ยาธาตุเหล็กสำหรับผู้บริจาคโลหิต โดยปกติ ร่างกายจะเสียธาตุเหล็ก
จากการหลุดลอกของเซลล์ ผนังลำไส้ และเซลล์อื่นๆในปริมาณที่น้อยมาก

คือ ประมาณ 1 และ 1.5 มิลลิกรัม ในผู้ชายและผู้หญิง ตามลำดับ
เท่ากับที่ได้รับจากอาหาร
การมีประจำเดือนแต่ละเดือนผู้หญิงจะสูญเสียธาตุเหล็กประมาณ 30-40 มิลลิกรัม
ส่วนการบริจาคโลหิตแต่ละครั้งจะเสียธาตุเหล็กประมาณ 150-200มิลลิกรัม
ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นปริมาณที่สูงมากจำเป็นต้องมีการทดแทน

เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียธาตุเหล็ก
จากการศึกษา เกี่ยวกับผู้บริจาคโลหิตของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
พบว่าร้อยละ 37 ของผู้ที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้โดยเฉพาะผู้หญิง คือ เลือดลอย
หรือความเข้มข้นของโลหิตต่ำกว่ามาตรฐานในการบริจาค (12.5 gm/dL)
ซึ่งถ้าสาเหตุมาจากการขาดธาตุเหล็กก็ควรต้องกินยาเสริมธาตุเหล็ก
 และเพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กให้มากขึ้น



หากท่านได้ปฎิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวท่านจะไม่เกิดภาวะโลหิตจาง
จากการขาดธาตุเหล็กแน่นอน โลหิตจะเข้มข้นเพียงพอที่จะบริจาคทุกครั้ง
 การบริจาคโลหิตจะเป็นการกระตุ้นให้ไขกระดูกทำงานผลิตโลหิตใหม่
หมุนเวียนทดแทนโลหิตเก่าที่ออกไป ส่งผลให้เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส
ไม่อ่อนเพลีย มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ตลอดไป



เอกสารอ้างอิง

1. ข้อมูลเผยแพร่ทางวิชาการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
สภากาชาดไทย เรื่อง ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต 2545

2. ข้อมูลเผยแพร่ทางวิชาการของมูลนิธิโรคโลหิตจาง

ธาลัสซีเมีย 2545

3. Technical Manual 12 thAmerican Association of Blood banks.



รวบรวมและเรียบเรียงโดย

ทีมพัฒนาคุณภาพงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โทร.0-5394-5624

 
 

ไม่มีความคิดเห็น: