วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ถ้าเป็นลูคีเมียจะรักษาอย่างไร

การรักษา โดยทั่วไปจะใช้วิธีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเป็นหลัก นอกจากนี้แพทย์อาจใช้วิธีการปลูกถ่าย
ไขกระดูก และรังสีรักษา เพื่อเสริมการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว การตอบสนอง
ต่อการรักษา ด้วยยาเคมีบำบัด และอายุของผู้ป่วยด้วย ข้อแนะนำสำหรับการป้องกันโรคนี้ คือ การหลีกเลี่ยง
เกี่ยวกับการสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสี และสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน ควันพิษต่าง ๆ
และผู้ที่มีกรรมพันธุ์เป็นโรคที่ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละครั้ง

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวแตกต่างกันไปตามชนิดของมะเร็ง และสภาพของผู้ป่วยแต่ละคน หากเป็นชนิด
เรื้อรัง แพทย์จะให้ยาเคมีบำบัดแบบรับประทานเพื่อให้จำนวนเม็ดเลือดที่ผิดปกติลดลง และขนาดของตับม้าม
ลดลงในเวลาที่เหมาะสม การให้ยารับประทานอาจมีการปรับขนาดของยาบ้างตามจำนวนเม็ดเลือดขาว
แต่จะให้ไปเรื่อยๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังถึงแม้จะมีอาการไม่มาก แต่เป็นมะเร็งที่ไม่สามารถรักษา
ให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว วิธีที่อาจรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังให้
หายขาดและได้ผลดีได้ คือการปลูกถ่ายไขกระดูก

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันมีเป้าหมายคือต้องการให้โรคเข้าสู่ระยะสงบ (remission)
ระยะสงบเป็นระยะที่จำนวนของเซลล์มะเร็งลดลง และเซลล์ปกติมีจำนวนและหน้าที่กลับมาปกติ ผู้ป่วยที่เข้า
สู่ระยะสงบจะอยู่ในระยะนี้ได้ประมาณ 3-9 เดือน หลังจากนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลับเป็นโรคใหม่
(relapse)

การรักษาเพื่อให้เข้าสู่ระยะสงบนั้นรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) ขนาดค่อนข้างสูง
เข้าทางเส้นเลือด หลังจากให้ยา ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง และเม็ดเลือดต่ำลง ทำให้ติดเชื้อ
ง่ายและมีไข้ ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาปฏิชีวนะและให้เลือดประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น
หากผู้ป่วยไม่เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ก็จะฟื้นตัวเข้าสู่ระยะสงบ ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะมีอาการปกติ
เหมือนตอนก่อนจะป่วย แต่เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลับเป็นโรคใหม่ จึงต้องให้การรักษาเพื่อที่จะป้องกัน
การกลับเป็นโรคใหม่ โดยการให้ยาเคมีบำบัดซ้ำในขนาดสูง หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละราย
มักจะต้องได้เคมีบำบัดหลายรอบหลายครั้ง โดยทั่วไปประมาณ 3-6 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 2-3
เดือน ในปัจจุบันเราสามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันให้หายขาดได้ประมาณ 1
ใน 3 ถึง 1 ใน 2 ของผู้ป่วยทั้งหมด การที่ผู้ป่วยแต่ละรายจะหายขาดหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
แต่ที่สำคัญที่สุดคืออายุและสภาพร่างกายของผู้ป่วย และชนิดความผิดปกติทางพันธุกรรมของมะเร็ง
เม็ดเลือดขาวที่ผู้ป่วยเป็น

การรักษาโรคลิวคีเมียทำได้ 2 วิธี คือ 
1. การป้องกันไม่ให้เกิดโรค
2. การรักษาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว 


การป้องกันไม่ให้เกิดโรค
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั้นยังห่างไกลจากความเป็นจริงมาก แม้ว่าวิทยาการก้าวหน้าไปมากแค่ไหนก็ตาม เรายังไม่มีวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ เกิดโรคลิวคีเมียได้ เพราะ ดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนสาเหตุว่า สาเหตุต่างๆ ที่กล่าวถึงนั้นเป็นเพียงสาเหตุชักจูงเท่านั้น เรายังไม่ทราบว่าทำไมคน บางคนได้รับสาเหตุชักจูงแล้วเป็นโรคลิวคีเมียแต่บาง คนไม่เป็น

การรักษาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว
การรักษาโรคที่เกิดขึ้นแล้วนั้น แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ การรักษาตัวโรคลิวคีเมียเอง และการป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อน หรืออาการต่างๆ ที่เป็นผลจากโรคลิวคีเมีย

การรักษาตัวโรคลิวคีเมียเอง การรักษาโรคลิวคีเมียเองนั้น ทำได้โดยการใช้ยาซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าหรือทำลายเซลล์
ลิวคีเมีย (และในขณะเดียว กันก็อาจจะทำลายเซลล์ เม็ดเลือดที่ปกติด้วย) ในปัจจุบันนี้การรักษาโรคลิวคีเมียได้ผลดีขึ้นมากทั้งนี้ก็เป็นผลจากยาที่นำมาใช้มีคุณภาพดีขึ้น ลิวคีเมีย บางชนิด
อาจจะรักษาให้หายขาดได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิวคีเมียในเด็ก
สำหรับลิวคีเมียในผู้ใหญ่แม้ว่าการรักษาจะดีขึ้นมากแต่ก็ยัง ไกล จากความหวังในเรื่องหายขาด

นอกจากนี้การรักษามีความจำเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับเลือดเข้าไปชดเชย เพื่อให้ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงมากพอ
ที่จะทำหน้าที่นำออกซิเจน ไปให้อวัยวะต่างๆ ได้


การป้องกันและการรักษาโรคแทรกซ้อน การป้องและรักษาโรคแทรกซ้อนนั้น ก็ทำไปตามอาการของผู้ป่วย เช่น
ซีดมากก็ให้เลือดถ้า เกล็ดเลือดต่ำ มีอาการเลือดออก ตามที่ต่างๆ ก็ต้องให้เกล็ดเลือด 

ไม่มีความคิดเห็น: